วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีต่างๆ หลังจบเรียนปริญญาโท

หัวข้อในทฤษฎีของ IT ที่ได้เรียนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นแนวคิดของอาจารย์ IT ต่างๆ ที่ได้ทำเทคโนโลยีและได้แสดงผลงานกันไว้ ซึ่งจะมีสัก 1 ใน 1000 จะนำไปเป็น Product แล้วจากนั้นจึงนำ Product มาศึกษาผลกระทบเป็นทฤษฎีกันต่อไปเรื่อยๆ และนำไปพัฒนาต่อ

สิ่งที่เจอจริงๆ ระหว่าง Product กับ Theory คือ บางครั้งการนำทฤษฎีจริงไปสร้าง Product นั้นเป็นไปไม่ได้ทั้งหมด บางทีมันอาจทำไม่ได้ตามจริงบนโลกความจริง หรือบางทีโลกความจริงก็มีขอบเขตในการทำทฤษฎีให้เป็นจริง

ซึ่งบางครั้ง เวลารับงานส่วนใหญ่ ที่กังวลกันมากที่สุด คือ ลูกค้าเก่งอ่านหนังสือหมดทุกเล่ม อ่านมากกว่าที่ปรึกษาอ่าน บางครั้งทำใ้ห้เราต้องตอบคำถามยากๆหรือ ที่ลูกค้าเข้าใจผิด นี้ก็เป็นปัญหาประจำที่เราต้องพร้อมรับมือ

ส่วนปัญหาอีกอย่างที่ได้พบกับคนเรียนจบใหม่ การทำงานและการเรียน บ้างครั้งไม่ได้มาด้วยกัน ซึ่งบ้างครั้งเราเลือกการศึกษาที่ไม่ตรงกับตลาดแรงงาน ออกมาแล้วอาจหางานลำบาก

ซึ่งกรณี ที่ผมอยากแนะนำ คือ ให้เลือกศึกษาโปรเจคจบตามนี้

เลือกทฤษฎี สิ่งที่เรียนมาตลอดช่วงมหาวิทยาลัย ERP CRM SCM BI Datawarehouse Network Databased Programming Secuity WebApp BPM Cloud Embeded Moblie Admin VM

เลือกเครื่องมือ เหมือนกับเลือกว่าจะไปทางไหน Cisco Oracel SAP Java Mircsoft IBM

เลือกหัวที่ตัวเองชอบ อันนี้อาจยากสุด การศึกษาไรสักอย่างในมหาวิทยาลัยผมก็ยังมองเห็นข้อจำกัดเยอะเหมือนกัน แต่เมื่อได้ 2 ข้อบนแล้ว ก็ควรพยายามหาให้ได้ครับ


อย่างน้อยก็รับประกันได้ระดับนึงว่า อาจจะหางานได้ง่ายขึ้นระดับนึง


นั้นละครับ คิดว่าที่ผมลองเสนอแนะ น่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ บ้างนะครับ

โชคดีครับ

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Magic Quadrant

สมัยต่อผมเรียนปริญญาโท ในหลายๆเนื้อหาวิชานั้น ถ้าไม่อ้างอิงจากตำราหรือบทความวิชาการ ก็อ้างอิงจากบริษัททำวิจัยใหญ่ๆ ระดับโลกอย่างเช่น Gartner เป็นต้น

โดยสิ่งที่ผมชอบในงานวิจัยของ Gartner อย่างหนึ่งคือ Magic Quadrant ซึ่งเป็นการออกแบบการจัดลำดับสิ่งต่างๆ ของ Gartner ซึ่งผมว่ามันเชื่อถือได้ และ เห็นPosition หรือ ตำแหน่งสิ่งที่เราอยากอย่างชัดเจน แถมยังเห็นภาพคู่แข่งด้วย เพื่อไว้เปลี่ยนใจหันมาใช้ Application ตัวอื่นๆ แทน

ลองดูครับ ถ้านำไปไว้ในรายงานจะทำให้รายงานเราดูดีมีชาติตระกูลขึ้นเยอะครับ