วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

The Architected Environment

The Architected Environment เป็นแนวคิดเรื่องสถาปัตยกรรมของระดับข้อมูล ของ Bill Inmon ได้นำเสนอไว้ ซึงเป็นพื้นฐานของ Corporate Information Factory (CIF) และระดับของข้อมูลทั่วไปที่นำไปใช้ใน App ต่างๆ

ได้แบ่งข้อมมูลเป็น 4 ระดับ ได้แก่

the operational level.
โดยระดับนี้เป็นข้อมูลแบบเก็บบันทึก เปลี่ยนแปลง และแสดงจากระบบได้ เช่นพวกระบบ Transaction ทั้งหลาย ซึ่งอาจมีมาจากหลายๆ ระบบ ที่สำคัญคือสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้บางครั้งการนำไปใช้อาจผิดพลาดได้ ซึ่งจะอยู่ในระดับของ OLTP หรือ Application ทั่วไป

the atomic ( the data warehouse) level. เป็นระดับที่ใช้เก็บประวัติข้อมูลทั้งหมด จาก operational level ซึ่งเราจะทราบหมดว่ามีการเปลี่ยนแปลงไรข้อมูลบ้าง ใช้ในส่วนของ Datawarehouse

the departmental (or the data mart) level. หรือใช้คำว่า data mart level, the OLAP level, the multidimensional DBMS level ซึ่งน่าจะคุ้นกับ 3 คำหลังมากกว่า ซึ่งเป็ระดับที่ข้อมูลที่ใช้จำเพราะอย่างไว้ เช่น ข้อมูลทางบัญชี การขาย โดยใช้แหล่งข้อมูลมาจาก the data warehouse
.
the individual level.ข้อมูลในระดับนี้ใช้เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ หรือจะเป็นข้อมูลสำหรับค้นหาความรู้ต่างๆ ใช้สำหรับพวก Executive information systems (EIS) หรืออาจจะ BI ด้วยกันได้

บุคคลสำคัญของวงการ Data warehouse

ที่มาของ Data warehouse คนที่พูดเรื่อง Data warehouse คนแรก ในหนังสือหลายๆ เล่ม นั้นบอกว่าเค้าคือ Bill Inmon หรือ ชื่อเต็มคือ William Harvey Inmon
ซึ่งก่อนหน้ามีแนวคิดเกี่ยวกับ Data warehouse มาก่อนหน้า แต่ Bill Inmon เป็นคนกำหนดนิยาม โดยได้ออกหนังสือชื่อว่า Building the Data Warehouse

ซึ่งได้อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบจริง แล้วทำไมต้องมี Data warehouse ซึ่งผมคงได้มาเล่าให้ฟังในบทความต่อๆ ไป

ส่วนอีกคนที่ได้รับยอมเรื่องของ Data warehouse คือ Ralph Kimball ซึ่งได้เขียนหนังสือเรื่อง The Data Warehouse Toolkit ซึ่งจะอธิบายวิธีการนำ Data Warehouse ไปใช้ (หนังสือที่ Kimball เขียนมีหลายเล่ม แต่ผมหาอ่านได้เล่มเดียว)

โดยมีหนังสืออีกหลายเล่มหลายจากปี 2000 แต่ส่วนใหญ่ และก็ Application tool หลายตัว ที่เป็น Data warehouse ไม่ว่าจะเป็น SAP BW หรือ เจ้าอื่นๆ ก็จะอ้างอิงจาก 2 ท่านนี้ โดยตัวผมเองได้เจอจาก หนังสือของ BW 310 ได้พูดถึง Bill Inmon ไว้ 2 -3 ที่ และไปหนังสือ ของ SSAS ก็ กล่าวถึงไว้ เลยทำให้สนใจอยากรู้ จึงตามสืบ มาจนเข้าใจว่าเค้าเกี่ยวข้องอย่างไรกับ Data warehouse

ช่วงนี้ผมอ่านหนังสือ Building the Data Warehouse เลยเหมือนได้อารมณ์ว่ากำลังอยู่ในยุคตั้งต้นของ Data warehouse เลย แม้นิยาม การใช้งานจริงบางอย่าง ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วบ้างตามกาลเวลาก็ตาม แต่มันทำให้เข้าใจได้ว่าปัญหาที่ทำให้เกิด Data Warehouse ขึ้นมาเพื่อแก้ไข ปัญหาอะไร

โดยส่วนอื่นๆ ของทฤษฎีผมคงเริ่มอธิบายใน บทความต่อๆ ไปนะครับ

อ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/Data_warehouse
http://en.wikipedia.org/wiki/Bill_Inmon
http://en.wikipedia.org/wiki/Ralph_Kimball

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

Dashboard คือ



เครื่องมือ หรือ Tool อีกตัวหนึ่ง ใน Business intelligence ก็คือ Dashboard หรือเรียกง่ายๆ คือ แผงหน้าปัด นั้นเอง

โดยเจ้า Dashboard นี้ โดยนี้ ใช้เป็นการแสดงข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญให้ผู้บริหารหรือผู้ปฎิบัติงานได้เห็นข้อมูลอย่างชัดเจนแต่ไม่ใช่รายละเอียดที่ลึกเกินไป ทำให้ทราบถึงสถานภาพในเวลานั้นว่าผลงานหรือค่าตัววัดสำคัญๆ อยู่ในระดับอย่างไร

โดยส่วนใหญ่จะนำมาประยุกต์ใช้กับพวก เครื่องมือวัดผลทางธุรกิจ หรือ วัดผลทางองค์กร Preferment management ต่างๆ เช่น Balanced Scorecard, Enterprise Performance Management (EPM Business or Corporate Performance Management (BPM), Business Activity Monitoring (BAM), Six Sigma รวมไปถึงการนำมาแสดงค่า KPI ในส่วนงานต่างๆ ด้วย

โดยผู้พัฒนาเครื่องมือ Dashboard ในตลาดนั้นได้แก่ Business Objects, Cognos, Hyperion, and MicroStrategy. iViz Group, iDashboards, Noetix, QPR Software, and Theoris เป็นต้น