วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Data Vs Information Vs Knowledge

ในวิชาเกี่ยวกับการจัดการเทคโนโลยีส่วนใหญ่คำถามแรกที่ต้องโดนทิ้งให้คิดการคือ Data กับ Information ต่างกันอย่างไร โดยคำตอบส่วนใหญ่ก็ออกมาเป็นดังนี้

Data คือ สิ่งที่เกิดขึ้นและยังไม่ผ่านกระบวนการเพื่อหาความหมาย
Information คือ Data ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว

นอกจากนั้นเรียนเพิ่มเติมไปกว่านั้น ยังมี Knowledge สูงกว่านั้นยังมี Wisdom อีก

โดยส่วนใหญ่วิชาที่ให้ความสำคํญกับ Data มากๆ เป็นเรื่องวิชา ออกแบบฐานข้อมูล (Database design) ซึ่งเราต้องคิด ค้นหา ตลอดว่าในระบบแต่ละระบบต้องมี Data อะไรบ้าง และกลุ่มของ Data นั้นเป็นอย่างไร ใครควรอยู่ด้วยกัน ความสัมพันธ์ของ Data ของเป็นในรูปแบบไหน ซึ่งนับเป็นฐานข้อมูลที่จะนำไปสร้าง Information Knowledge Wisdom ต่อไปในแต่ละองค์ ในระดับเทคโนโลยีก็มีเครื่องมือประเภท DBMS เป็นตัวจัดการข้อมูลเหล่านี้ทำหน้าที่จัดเก็บ แสดงผล

ต่อมาเรื่อง Information เป็นเรื่องของระบบที่นำข้อมูลเหล่านี้มาผ่านกระบวนรูปแบบต่าง เช่น ผ่านคำถามง่ายๆ จนไปถึงการใช้หลักสถิติ และสมการคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย โดย เทคโนโลยีด้าน Information นั้น มีได้แก่ พวก BI, Data mining เป็นต้น

ซึ่งเหนือจาก Information แล้ว ผมมองว่าเป็นเรื่องของคน ที่ต้องนำสิ่งที่ได้จาก Information เป็นKnowledge เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งอาจมีเครือ่งมือจัดการ Knowledge บ้าง แต่ Knowledge ที่เป็นตัวอักษร ไม่สามารถมีประโยชน์ ถ้าไม่มีใครนำไปอ่านหรือทำเข้าใจกับมัน

ซึ่งเห็นไ้ด้ว่าสุดท้ายเทคโนโลยีอาจใช้ได้แค่ช่วยมนุษย์ในความสะดวกขึ้นได้ แต่ถ้าไม่มีใครนำ Information จากเทคโนโลยีไปใช้ สุดท้ายมันก็เป้น Information ที่มีอยู่มากมายในโลกแล้วไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ขึ้นมา ดังสุภาษิตไทยที่ว่า "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด"

แถมท้่ายจาก http://www.systems-thinking.org/dikw/dikw.htm ในความหมายระดับของ ความรู้

(Ackoff,1989)

Data... data is raw. It simply exists and has no significance beyond its existence (in and of itself). It can exist in any form, usable or not. It does not have meaning of itself. In computer parlance, a spreadsheet generally starts out by holding data.

Information... information is data that has been given meaning by way of relational connection. This "meaning" can be useful, but does not have to be. In computer parlance, a relational database makes information from the data stored within it.

Knowledge... knowledge is the appropriate collection of information, such that it's intent is to be useful. Knowledge is a deterministic process. When someone "memorizes" information (as less-aspiring test-bound students often do), then they have amassed knowledge. This knowledge has useful meaning to them, but it does not provide for, in and of itself, an integration such as would infer further knowledge. For example, elementary school children memorize, or amass knowledge of, the "times table". They can tell you that "2 x 2 = 4" because they have amassed that knowledge (it being included in the times table). But when asked what is "1267 x 300", they can not respond correctly because that entry is not in their times table. To correctly answer such a question requires a true cognitive and analytical ability that is only encompassed in the next level... understanding. In computer parlance, most of the applications we use (modeling, simulation, etc.) exercise some type of stored knowledge.

Understanding... understanding is an interpolative and probabilistic process. It is cognitive and analytical. It is the process by which I can take knowledge and synthesize new knowledge from the previously held knowledge. The difference between understanding and knowledge is the difference between "learning" and "memorizing". People who have understanding can undertake useful actions because they can synthesize new knowledge, or in some cases, at least new information, from what is previously known (and understood). That is, understanding can build upon currently held information, knowledge and understanding itself. In computer parlance, AI systems possess understanding in the sense that they are able to synthesize new knowledge from previously stored information and knowledge.

Wisdom... wisdom is an extrapolative and non-deterministic, non-probabilistic process. It calls upon all the previous levels of consciousness, and specifically upon special types of human programming (moral, ethical codes, etc.). It beckons to give us understanding about which there has previously been no understanding, and in doing so, goes far beyond understanding itself. It is the essence of philosophical probing. Unlike the previous four levels, it asks questions to which there is no (easily-achievable) answer, and in some cases, to which there can be no humanly-known answer period. Wisdom is therefore, the process by which we also discern, or judge, between right and wrong, good and bad. I personally believe that computers do not have, and will never have the ability to posses wisdom. Wisdom is a uniquely human state, or as I see it, wisdom requires one to have a soul, for it resides as much in the heart as in the mind. And a soul is something machines will never possess (or perhaps I should reword that to say, a soul is something that, in general, will never possess a machine).



Ackoff, R. L., "From Data to Wisdom", Journal of Applies Systems Analysis, Volume 16, 1989 p 3-9.

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Biometric

Biometric

ในปัจจุบันการใช้การระบบคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาการนำศาสตร์แขนงอื่นๆ มาเพื่อเพื่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์นั้นทำหน้าที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพศาสตร์แขนงอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์คือ ระบบความปลอดภัย ซึ่งได้มีการพัฒนามาเพื่อใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ซึ่งได้มีการพัฒนาแนวทางงานวิจัยไปหลายแนวทาง โดยหนึ่งในแนวทางที่พัฒนา คือการนำการคุณลักษณะทางชีววิทยาของมนุษย์นำมาประยุกต์ ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำการแยกบุคคล และพิสูจน์ตัวบุคคล ซึ่งคุณลักษณะของมนุษย์นั้น มีอัตราความการซ้ำ หรือเหมือนกันนั้นต่ำมาก เรียกวิชาสาขานี้ว่า Biometric

ในความหมายของ Biometric มาจากคำ 2 คำ คือ
• Bio- ชีวิต
• Metric – หน่วยวัดต่างๆ
โดยมีบุคคลให้นิยามความหมาย Biometric ไว้ดังนี้
“การใช้คุณลักษณะหรือพฤติกรรมบางอย่างในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถเทียบวัดหรือนับจำนวนได้มาผนวกเข้ากับหลักการทางสถิติ เพื่อการแยกแยะหรือจดจดแต่ละบุคคล” (เอกรินทร์ ซื่อธานุวงศ์,2547)

ปัจจุบันการใช้ Biometric นิยมใช้ในงาน 2 กรณี
• การระบุตัวตน( Identification ) คือ การเปรียบเทียบผู้ใช้ Biometric เพื่อยืนยันตัวตนจากฐานข้อมูลในระบบทั้งหมด โดยการเปรียบเทียบเป็นรูปแบบ หนึ่งต่อมากกว่าหนึ่ง (1:N)
• การตรวจพิสูจน์( Behavioral ) คือ การเปรียบเทียบผู้ใช้ Biometric เพื่อยืนยันตัวตน โดยการเปรียบเทียบเป็นรูปแบบ หนึ่งต่อหนึ่ง (1:1)

โดยการจำแนกประเภทของใช้ตัวเทียบวัดตามหลักของ Biometrics มี 2 ประเภทคือ
• หลักทางกายภาพ( Physiological ) คือ สิ่งที่แยกยะได้จากเอกลักษณ์จากร่างกายของมนุษย์ เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ เป็นต้น
• หลักทางพฤติกรรม( Behavioral ) คือ สิ่งที่แยกยะออกด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น ลายนิ้วมือ เสียงเป็นตน

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ครูใหญ่ 3 คน ในโลกออนไลน์

มีโอกาสได้กินข้าวกับ ดร.วรา อาจารย์จากพระนครเหนือ ซึ่งได้ความรู้ใหม่ๆ และแง่คิดมากเลย ซึ่งดร.วรา ได้เล่าให้ฟังไว้เรื่องหนึ่ง คือ "อาจารย์ยืน (ยืน ภู่วรวรรณ) เคยบอกไว้ว่า ปัจจุบันตอนนี้มีครูอยู่ 3 คน" ซึ่งครู 3 คนนี้ได้แก่

1. ครูกู (Google)
2. ครูวิ ( Wikipedia )
3. ครูยูป ( Youtube)

พอฟังเสร็จ ก็ นึกได้ว่า ผมก็มีครู 3 คนนี้มาตลอด ปัจุจุบันแทบไม่มีวันไหน ไม่เคย ไม่เปิด 3 เว็บไซต์นี้เลย

Google
เป็น search engine ที่นิยมใช้งานมาที่สุดในเวลานี้ ซึ่งทำให้ทุกอย่างสามารถค้นหาได้อย่างง่ายมากขึ้นอย่างรู้อะไรก็ค้นหาได้ รวมไปถึงมีให้ทั่วแผนที่ เครื่องมือแปลภาษา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งเครื่องมือส่งเสริมธุจกิจบนเว็บไซต์อีก Adsence Adword ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกิดและโตอย่างรวดเร็วมาก

สิ่งที่ได้จาก Google คือความรู้จำนวนมหาศาสเกือบทุกเรื่องใครหน้าไหนสนใจเรื่องอะไร Google ก็หาได้หมด ซึ่งใครต่อใครนำมาไว้บนโลกอินเตอร์ ไม่เว้นแม้กระทั้ง Blog ของผม ก็ค้นหาได้จาก Google ด้วย

Wikipedia
คือ สารานุกรมออนไลท์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เขียนโดยผู้คนหลากหลายมากหน้าหลายตาในโลกอินเตอร์เน็ท ซึ่งความแตกต่างในการหาข้อมูลกับ Google คือ การที่มีเนื้อหานั้นแค่หนึ่งเดียว สมมุติ ว่าคุณหา คำว่า IP Address ใน google กับ IP Address ใน wiki นั้นสิ่งที่ได้ต่างกันคือ เนื้อหาจากเว็บไซต์หน้าเดียว กับไม่รู้กี่ล้านเว็บไซต์

ซึ่งความหลากหลาย อาจแตกต่างกัน ซึ่งสังเกตุได้ว่า wiki นั้นมีส่วนอ้างอิงอยู่เยอะมาก เพื่อทำให้บทความนั้นมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

Youtube
เว็บวีดีโอที่ใหญ่ที่สุดในโลก สิ่งที่ผมได้จากที่นี้ คือ วิดีโอหลากหลาย มีตั้งแต่ผิดชอบชั่วดี คลิปการเมืองที่ดี และ ไม่ดี ผสมกันไป รวมไปถึงคลิป MV ดารารเกาหลี และอื่นๆ อีกมหาศาล ผมใช้ Youtube ประมาณ ปี 49 ซึ่งตอนนั้นยังไม่ค่อยคนไทยโพสเท่าไร และไม่คิดว่าเว็บ Youtube จะแจ้งเกิดได้ในไทย แต่เมื่อโลกเทคโนโลยีเปลียน มือถือทุกคนถ่ายวิดีโอได้หมด ก็แน่นอนว่า เว็บโพสวิดีโอก็โตตามด้วย รวมถึง มีทั้งข่าวในประเทศ รายการ รวมถึงหนังฮอลลีวู้ต ได้พูดถึงเยอะมาก ทำให้ทุกคนรู้จักเว็บ Youtube ดีขึ้น และเป็นแหล่งเว็บชุมชนใหม่ ในกับคนไทยไปโดยปริยาย

ซึ่งวีดิโอที่หลากหลายทำให้ผู้ชมต้องเลือกชมสิ่งที่ต้องการเอง ส่วนผมใช้หาความรู้แปลกใหม่ๆ ไม่น่าบ้างคนเอา วิดีโอสอน จาก MIT มาโพสไว้ ซึ่งทำให้เราได้รู้ว่า ไอ้ที่ว่าเก่ง เค้าสอนกันอย่างไร

รวมถึง งานศิลปะ ทั้งวาด ระบายสี ด้วย สีน้ำมัน เกรยอง ชาโคล เค้าทำกันอย่างไร

เรียนเปียโน อยากได้ตัวอย่างของ สเกล ทั้งหลาย ก็มีคนถ่ายมาให้ดู

เนี่ยละครับ

ครูใหญ่ 3 คน ซึ่ง มีวิธีการสอนแบบแตกต่างกันไปตาม สไตล์ใครสไตร์มัน

สุดท้ายการใช้สื่อพวกนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จะนำประโยชน์มาใช้ได้มากแค่ไหน อาจไปคุณอนัันต์ หรือ โทษมหันต์ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ละครับ

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ค่ายหนังสือ IT ที่ผมชอบ

โดยปกติหนังสือที่เราที่้อ่านเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม หรือมุมมองอะไรที่แปลกใหม่ในหนังสือแต่ละเล่ม แม้เป็นหนังสือเนื้อหาเดียวกัน แต่ในการที่คนเขียนแต่ละอาจอธิบายหรือเรียบเรียงออกมาต่างกัน ก็สามารถทำให้ได้ความรู้มุมใหม่ ๆ ได้

ส่วนความรู้ในสาขา IT ต่างๆ ต้องยอมรับว่า ความรู้เหล่านี้มาต่างประเทศโดยเกือบทั้งหมด ดังนั้น หนังสือ IT ทีมีเนื้อหาดี ส่วนมากจะเป็นหนังสือต่างประเทศ อีกทั้งภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล ทำให้มีหนังสือจำนวนมากและหลากหลาย

ส่วนหนังสือภาษาไทยปัจจุบันยังเป็นการแปลหรือเรียบเรียงใหม่ เพื่่อทำให้อ่านง่ายจากภาษาอังกฤษ แต่ก็ต้องยอมรับว่าหนังสือนั้นมีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับหนังสืออังกฤษ ดังนั้นหนังสือที่ผมจะแนะนำ เป็นค่ายหนังสือจากต่างประเทศ ซึ่งคิดว่า หาจะหาซื้อได้จากหนังสือตามห้าง IT ส่วนใหญ่ หรือสามารถอ่านจากหนังสมุดในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้นะครับ

Apress
หนังสือสำนักพิมพ์นี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกเขียนโปรแกรม มีตั้งแต่ เริ่มต้น จนถึง ขั้นสูง โดยมีทั้ง .NET ของ Microsoft และ Open Source รวมถึงหนังสือประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ IT เช่น System Administration และ Database/SQL

โดยลักษณะของสำนักพิมพ์ คือ หนังสือทุกเล่มจะมีพื้นหลังสีดำ และ ตัวอักษรสีเหลือง
http://www.apress.com/

O reilly
เจ้าของคำนิยม Web 2.0 สำนักพิมพ์นี้ เน้น แนวโปรแกรมมิ่ง แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์คือ หน้าปกหนังสือ จะเป็นรูป สิงสาราสัตว์ ส่วนตัวผมชอบสำนักพิมพ์ แนวงานเขียนส่วนใหญ่เหมือนหนังสือเรียน
http://oreilly.com/

Wrox
หนังสือสำนักพิมพ์นี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกเขียนโปรแกรม มีตั้งแต่ เริ่มต้น จนถึง ขั้นสูง มีแต่เขียนโปรแกรมล้วนๆ
โดยลักษณะของสำนักพิมพ์ คือ ใช้สีแดง แลเะ หน้าปก ขาวดำ โดยส่วนนิยมเอาหน้าคนเขียนมาใช้ขึ้นหน้าปกด้วย
http://www.wrox.com

Friends of Ed
สำนักพิมพ์นี้ เน้นหนังสือ เพื่อนักกราฟฟิกหรือดีไซน์เนอร์ทาง IT ที่ต้องการเพิ่มฝีมือเขียนโปรแกรมด้วย Actionscript ของค่าย Adobe และการเขียนเว็บ ออกแบบเว็บ โดยเนื้อหานั้นไม่ยาก มีตัวอย่างและรูปภาพชัดเจน
http://www.friendsofed.com/

SAMs
เจ้าของหนังสือ เขียนโปรแกรมได้ภายใน ........ วัน (Teach Yourself xxxx in xx Days)
http://www.samspublishing.ca/

Springer
สำนักพิมพ์นี้มีหนังสือประเภทอื่น ๆ แต่หนังสือประเภท คอมพิวเตอร์นั้น เน้นไปพวก ทฤษฎี ใครอยากรู้แนวคิดทฤษฎีใหม่ๆ ก็ลองหาอ่านได้นะครับ
http://www.springer.com/computer?SGWID=0-146-0-0-0

for Dummies
สำนักพิมพ์นี้ มีทุกแนวจริงๆ แต่ ง่าย หลากหลาย สมชื่อ
http://www.dummies.com/

ส่วนสำนักพิมพ์อื่นๆ ที่หนังสือมีหลายแบบ มีหนังสือ IT อีกหลายแบบ
QUE
Sybex
Addison Wesley
Packt Publishing